วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาณาจักรพืช (Kingdom plantae)



ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช


       - เป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เป็นยูคาริโอต (Eucaryotic cell) ลักษณะของเซลล์แบบยูคาริโอตมีไรโบโซมเป็นชนิด 80S 
      - ประกอบไปด้วยเซลล์หลายๆ เซลล์มารวมกันเป็นกลุ่มเซลล์หรือเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) กลุ่มเซลล์เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง 
      - ผนังเซลล์เป็นสารประกอบพวก Cellulose จึงทำให้เซลล์มีลักษณะเป็นกรอบ แข็งแรง และมีรูปร่างที่แน่นอน
       - มีคลอโรฟิลล์บรรจุอยู่ใน Chloroplast คลอโรฟิลล์มักเป็นคลอโรฟิลล์เอ หรือ บี นอกจากนี้ยังมีรงควัตถุอื่นๆ อีกหลายชนิด ช่วยกันทำหน้าที่จับพลังงานแสง เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง โดยคลอโรฟิลล์ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมีในรูปของสารอินทรีย์ต่างๆ
       - การเจริญต้องผ่านระยะเอมบริโอ เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกันเป็นไซโกตต้องเจริญเป็นเอมบริโอหรือต้นอ่อนเสียก่อน แล้วจึงเจริญไปเป็นต้นใหม่ (ต้นสปอโรไฟต์)
       - โดยทั่วไปไม่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยตนเองไม่ได้ แต่ในพืชหลายชนิดขณะเป็นเซลล์สืบพันธุ์เคลื่อนที่ได้ เช่น สเปิร์มของมอส เฟิน ฯลฯ เพราะมี แฟลกเจลลา
      - มีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) การสืบพันธุ์แบบสลับประกอบด้วยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สลับกับการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ต้น gametophyte เป็นต้นที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้าง สเปิร์มหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ มาผสมกับไข่ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ส่วนอีกต้นหนึ่ง เรียกว่า sporophyte เป็นต้นที่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้าง สปอร์


       พืชมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากพืชทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตอาหารให้แก่ระบบนิเวศ นอกจากนี้พืชยังม มีประโยชน์ในด้านอื่นอีกหลายประการ เช่น พืชขนาดใหญ่ให้ไม้ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ พืชสมุนไพรใช้ในการรักษาโรคต่างๆได้หลายชนิด ไม้ดอกไม้ประดับ กล้วยไม้ ว่าน และพวกบอนต่างๆ ปลูกเพื่อ ให้ความสวยงามและสบายใจแก่ผู้ปลูก แต่ก็มีพืชบางชนิดที่ให้โทษเหมือนกัน เช่น พวกวัชพืชต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่การเกษตร ผักตบชวา เจริญและแพร่พันธุ์ลงสู่แม่น้ำอย่างรวดเร็วทำให้กีดขวางการจราจรทางน้ำ ต้องเสียค่าใช้ จ่ายในการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างมาก พืชทั้งหมดที่จัดอยู่ในอาณาจักรนี้มีมากกว่า 350,000 species พืชเหล่านี้แพร่กระจาย ไปได้แทบทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนบก ในน้ำ บนภูเขาสูง หรือในทะเลทราย พืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ทั้งทางด้านรูปร่าง ขนาด และการดำรงชีวิต


สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ไฟลัม คือ


           1. กลุ่มพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง
            1.1  Phylum Hepatophyta  ต้นแกมีโทไฟต์ มีทั้งที่เป็นต้น มีส่วนคล้ายใบและที่เป็นแผ่นบางๆภายในเซลล์จะมีหยดน้ำมันอยู่ด้วย ต้นสปอโรไฟต์เมื่อแก่จะแตกออก เพื่อปล่อยสปอร์กระจายพันธุ์ ตัวอย่างพืช เช่น ลิเวอร์เวิร์ท


ลิเวอร์เวิร์ท

            1.2  Phylum Anthocerophyta  ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแผ่น  มีรอยหยักที่ขอบ มักมีคลอโรพลาสต์เพียง 1 คลอโรพลาสต์ต่อเซลล์ และต้นสปอร์โรไฟต์จะมีลักษณะยาวเรียว มีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ที่โคนต้น เช่น ฮอร์นเวิร์ต


ฮอร์นเวิร์ต
            1.3  Phylum  Bryophyta  ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะคล้ายใบที่เรียงเวียนรอบแกนกลาง ต้นสปอร์โรไฟต์มีอับสปอร์ ซึ่งมีโครงสร้างพิเศษช่วยในการกระจายสปอร์หรือมีช่องเปิดเพื่อกระจายสปอร์   เช่น  มอส


มอส
มอส

         2. พืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงแต่ไม่มีเมล็ด

             ประกอบด้วยเฟินแท้ และกลุ่มใกล้เคียงเฟิน  พืชกลุ่มนี้มีราก   ลำต้นและใบที่แท้จริง  ภายในรากมีเนื้อเยื่อลำเลียงเหมือนที่พบในลำต้น  มีต้นแกมีโทไฟต์และต้นสปอร์โรไฟต์เจริญแยกกัน หรืออยู่รวมกันในช่วงสั้นๆ โดยต้นแกมีโทไฟต์จะมีวงชีวิตสั้นกว่าสปอร์โรไฟต์ 

             2.1 Phylum Lycophyta  เป็นพืชที่มีลำต้นและใบที่ทแจริง มีใบขนาดเล็ก มีเส้นใบ 1 เส้นที่ไม่แตกแขนง  ที่ปลายกิ่งจะมีกลุ่มของใบที่ทำหน้าที่สร้างอับสปอร์ พืชกลุ่มนี้ได้แก่ ไลโคโปเดียม เช่น สามร้อยยอด  หางสิงห์  ซีแลกจิเนลลา เช่น ตีนตุ๊กแก  และกระเทียมน้ำ

ตีนตุ๊กแก
             
             2.2 Phylum  Pterophyta  ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ได้แก่  หวายทะนอย  หญ้าถอดปล้องและเฟิน
          - หวายทะนอย  (Psilotum  sp.)  ไม่มีราก  ไม่มีใบ (ถ้ามีจะมีขนาดเล็กมาก) มีการแตกกิ่งเป็นคู่

หวายทะนอย

- หญ้าถอดปล้อง(Equisetum  spp.) เป็นกลุ่มพืชที่มีลำต้น  มีข้อปล้องชัดเจน   มีทั้งลำต้นตั้งตรงบนดินและลำต้นใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงบนดินมีสีเขียวเป็นสัน  ใบมีขนาดเล็ก มีเส้นใบเพียง 1 เส้น เรียงเป็นวงรอบข้อ อับสปอร์เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียกว่า strobilus

หญ้าถอดปล้อง

- เฟิน(Fern)  มีราก  ลำต้น  ใบ ที่แท้จริง  โดยมีเส้นใบแตกแขนง  ใบอ่อนม้วนจากปลายสู่โคนใบ ใบอาจเป็นใบเดี่ยว  หรือใบประกอบ  มีสปอร์อยู่ใต้ใบเมื่อใบแก่    ตัวอย่างของเฟินได้แก่ เฟินใบมะขาม  เฟินก้านดำ  ข้าหลวงหลังลาย  ชายผ้าสีดา  ย่านลิเภา  แหนแดง  จอกหูหนู  ผักแว่น  ผักกูด  เป็นต้น


ผักแว่น
         3. พืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีเมล็ด

             มีระยะสปอร์โรไฟต์ที่เด่นชัด และยาวนาน แต่ระยะแกมีโทไฟต์จะมีขนาดเล็กลงมากเมื่อเทียบกับมอสและเฟิน  ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ


             - Gymnosperm  (พืชเมล็ดเปลือย)  ลักษณะที่สำคัญคือ ออวุลและละอองเรณูติดบนแผ่นกิ่งหรือแผ่นใบซึ่งจะอยู่รวมกันที่ปลายกิ่ง เรียกว่า cone  แยกเป็นโคนเพศผู้และโคนเพศเมีย  เป็นพืชที่ไม่มีอก  แต่มีเมล็ด  เมล็ดไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้ม  จึงเรียกว่า เมล็ดเปลือย แบ่งออกเป็น 4 Phylum คือ



             3.1 Phylum  Cycadophyta  ป็นพืชที่มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณที่แห้งแล้งได้ดี   มีลำต้นค่อนข้างเตี้ย  ใบมีขนาดใหญ่เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว  มีการสร้างโคนเพศผู้และโคนเพศเมียแยกต้นกัน  เช่น ปรง  ปรงป่า  ปรงเขา  เป็นต้น


ปรงป่า

             3.2 Phylum Ginkophyta  ปัจจุบันเหลือเพียงสปีชีส์เดียว คือ แป๊ะก๊วย มีลักษณะใกล้เคียงกับพืชที่สูญพันธุ์ไปแล้ว พบตามธรรมชาติในประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุ่น ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวคล้ายพัด ต้นเพศเมียสร้างออวุลที่ปลายกิ่งพิเศษ เมล็ดมีอาหารสะสมนิยมนำมารับประทา


แป๊ะก๊วย
             3.3 Phylum  Coniferophyta  เป็นพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในพืชกลุ่มเมล็ดเปลือยทั้งในด้านลักษณะของต้นและโครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ โคนเพศผู้และเพศเมียอาจเกิดบนต้นเดียวกันหรือแยกต้นกัน เช่น สนสองใบ  สนสามใบ  สนสามพันปี  พญาไม้  เป็นต้น


สนสามใบ

             3.4 Phylum  Gnetophyta  เป็นพืชที่มีลักษณะแตกต่างจากพืชเมล็ดเปลือยกลุ่มอื่น คือพบเวสเซลในท่อลำเลียงน้ำ และมีลักษณะคล้ายพืชดอกมาก คือ มีกลีบดอก มีใบเลี้ยง 2 ใบ แต่แมล็ดยังไม่มีเปลือกหุ้ม ปัจจุบันพบประมาณ 3 สกุล แต่ที่พบในประเทศไทย คือ มะเมื่อย  มักพบตามป่าชื้นเขตร้อน


มะเมื่อย
             

        - angiosperm ( พืชดอก )   เป็นกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในอาณาจักรพืช พืชกลุ่มนี้มีดอกซึ่งเป็นกิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ มีออวุลเจริญอยู่ในรังไข่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกสรตัวเมีย  (มีดอก  มีเมล็ด   เมล็ดมีผนังรังไข่ห่อหุ้ม) แบ่งเป็น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) และพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon)

         
ไผ่